Dipabhāvan meditation center, koh Samui, Thailand
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับทีปภาวัน
    • ความเป็นมา
    • มูลนิธิทีปภาวัน
    • พระภาวนาโพธิคุณ
  • อาคารสถานที่
    • แนะนำอาคารสถานที่
    • ศาลาปฏิบัติธรรม
    • อาคารที่พักผู้ปฏิบัติธรรมสุภาพสตรี
    • ทางเดินภายในพื้นที่
    • สวนธรรมเภรี
    • สวนป่าศิขรินสินธุ
    • สวนสมคิดกฤษณาสาระภู
    • ห้องครัวทีปภาวัน
  • หลักสูตรปฏิบัติธรรม
    • สุดสัปดาห์แสวงหาอริยทรัพย์ พื้นฐาน
    • หาสุขได้จากทุกข์ ขั้นกลาง
    • หาสุขได้จากทุกข์ ขั้นสูง
  • ข้อควรปฏิบัติ
  • สมัครปฏิบัติธรรม
  • กิจกรรม
    • ภาพกิจกรรม
    • โครงการปลูกป่า
    • โครงการธรรมะ
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ
  • การเดินทาง
    • รถทัวร์
    • รถไฟ
    • เครื่องบิน
    • รถส่วนตัว
    • จุดนัดพบทีปภาวัน
  • สื่่อธรรมะ

อรติ โลกนาสนิกา

18/3/2011

 
Picture



                        ความเกลียดชัง พังโลกให้พินาศ

 

            ในทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงเหตุแห่งความพินาศของโลกไว้ด้วยหลักพุทธภาษิตว่า      อรติ โลกนาสิกา ความเกลียดชัง เป็นเหตุให้โลกพินาศ  เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความเกลียดชังนั้น เป็นสาเหตุแห่งความวุ่นวายและพินาศย่อยยับของโลกใบนี้   
           
           ความเกลียดชัง เป็นความรู้สึกที่รับใช้อคติ ความริษยา ความแข่งดี การยึดมั่นในทิฐิ  และเป็นที่มาของความความขัดแย้ง ความรู้สึกแบ่งแยก ความแตกสามัคคี ความเกลียดชังทำให้เกิดการหาทางทำลายล้างคู่กรณีในที่สุด ด้วยวิธีการต่างๆ 

        ดังนั้น โลกซึ่งเป็นสถานที่รองรับความขัดแย้ง การแบ่งแยก ขาดความสามัคคี และเต็มไปด้วยพฤติกรรมแห่งการทำลายล้างกันในลักษณะต่างๆ อันมีสาเหตุจากความเกลียดชังของบุคคลบนโลก จึงเป็นโลกที่นับถอยหลังไปสู่ความวิบัติย่อยยับลงทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นโลกภายนอก หรือโลกภายใน

        โลกภายนอก ได้แก่ กลุ่มสังคม ทั้งในระดับนานาชาติ ประเทศชาติ องค์กร หน่วยงาน ชุมชน หรือ ครอบครัว  เมื่อความเกลียดชังเข้าครอบงำแล้ว ความเกลียดชังจะทำให้จิตใจ มืดมนและคับแคบ จนละเลยและลืมถึงประโยชน์สุข ซึ่งเป็นจุดหมายร่วมกัน ยิ่งถ้าหากความเกลียดชังนั้น ขยายไปสู่วงกว้าง สภาพของสังคมนั้น ก็จะไม่ต่างอะไรกับลักษณะที่เรียกกันว่า ไก่ที่จิกกันเองในเข่ง เพื่อรอเวลาที่จะถูกนำไปเชือด จึงอนุมานได้ไม่ยากว่า โลกที่มีลักษณะเช่นว่านี้ มีแต่จะถอยหลังไปสู่ความวิบัติล่มจมเท่านั้น

       โลกภายใน ได้แก่ กายใจ ของผู้ถูกความเกลียดชังครอบงำ ก็จะย่อยยับพินาศจากประโยชน์สุข หรือความเจริญก้าวหน้าที่ควรจะได้รับ เพราะเมื่อใจถูกความเกลียดชังครอบงำแล้ว แทนที่ผู้นั้นจะมีแก่ใจคิดเรื่องดีๆ ทำเรื่องดีๆ เพื่อพัฒนาตนพัฒนาชีวิต ก็จะพยายามหาทางเพ่งโทษจับผิด หาช่องทางทำลายล้าง เอาชนะคะคาน  จิตใจจึงมีแต่จะปั่นป่วนรุ่มร้อนกระวนกระวายตลอดเวลา  โดยเฉพาะถ้ามุ่งในทางธรรมนั้น ความเกลียดชังจะทำให้พบกับความพินาศอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด นั่นคือ ความพินาศจากคุณงามความดี 

        ความเกลียดชังบางอย่าง มีความดีหรือความถูกต้อง ที่มีรากฐานจากความยึดมั่นในทิฐิ เป็นเหตุผลรองรับ ความเกลียดชังชนิดนี้ จะถูกปกปิดด้วยข้ออ้างของความดี ความถูกต้อง จนเจ้าตัวมองไม่เห็นหน้าตาแห่งความเกลียดชังที่ซ่อนอยู่อย่างแนบเนียน ทำให้ทั้งๆ ที่คิดว่าตนเองกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่ก็หารู้ไม่ว่าตนกำลังรับใช้ความเกลียดชังอยู่อย่างไม่รู้ตัว

         ดังนั้น ความพยายามอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้จะชื่อว่าเป็นไปด้วยความปรารถนาดี เพื่อให้ผู้อื่นทำหรือเชื่อในสิ่งถูกต้องเช่นตน แต่หากกระทำไป โดยมีความเกลียดชังกุมบังเหียนอยู่ภายในเช่นนี้  จะไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลได้เลย รังแต่จะเพิ่มความขัดแย้งมากยิ่งขึ้นไป
     
         มีหลักการหลักธรรมอยู่หลายอย่าง ที่สามารถนำไปพิจารณาปฏิบัติเพื่อสลาย หรือคลายความเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเกลียดชังผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นเกลียดชังก็ตามได้แก่

-  หลักการเมตตา และให้อภัย

- การทำความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในแต่ละด้าน แล้วยอมรับข้อจำกัดในเรื่องนี้ ที่ไม่อาจแก้ไขได้ หรือจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและเหตุปัจจัยอื่นอีกมากในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

- หลักการมองประโยชน์สุขส่วนรวม หรือมองเป้าหมายร่วมกัน ไม่เอาเรื่องเล็ก มาทำให้เสียประโยชน์ใหญ่ที่จะพึงได้รับ

- การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การนึกถึงอกเขาอกเรา 

- การลดราวาศอก การประนีประนอม การอะลุ่มอล่วย ดังคำที่ว่า ยอมไม่เป็นก็เย็นไม่ได้

- หลักการประสานประโยชน์ พบกันครึ่งทาง หรือ ถอยหลังคนละก้าว

- หลัก พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “พึงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ เอาชนะความตระหนี่ ด้วยการให้ เอาชนะความไม่ดี ด้วยความดี ความชนะการพูดจาเหลาะแหละ ด้วยการพูดแต่คำสัจจริง”

- แม้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำใจได้ยาก ในสถานะการณ์แห่งความเกลียดชัง แต่พึงระลึกถึงความจริงว่า ศัตรูที่แท้จริงของเราคือ ความเกลียดชัง หาใช่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่
        

      ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นความพินาศของโลกใบนี้ที่มนุษย์อาศัยอยู่ มาเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น แล้วก็จากไป แต่ภัยพิบัติจากความพินาศของโลกคือสังคมและจิตใจ เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และก่อภัยอันตรายได้อย่างยืดเยื้อ ตราบใดที่มนุษย์ปล่อยให้ความเกลียดชังเข้าครอบงำ
     

    แม้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทำให้ต้องมีเรื่องกระทบกระทั่ง และประสบเหตุให้เกิดความเกลียดชังจนได้ ไม่ว่าจะถูกเกลียดชัง หรือเกลียดชังผู้อื่น แต่การระมัดระวังและรู้เท่าทันความเกลียดชัง จะเท่ากับเป็นการช่วยโลกคือสังคมภายนอก และโลกคือชีวิตจิตใจภายใน ไม่ให้พบกับพินาศย่อยยับเพราะความเกลียดชัง                  
    Picture

    ยินดีต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมทุกท่าน หน้าบล็อกนี้ เป็นทีประกาศข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทั่้วๆ ไปของทีปภาวันธรรมสถาน และนำเสนอบทความธรรมะ หรือข้อคิดสั้นๆ เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตทั่วไป

        

    คลังบทความ

    December 2012
    October 2012
    March 2011
    February 2011

    หัวข้อบทความ

    All
    อรติ โลกนาสิกา
    เรือนจำ เรือนใจ
    ครองโลก คลองธรรม
    ต้นทางธรรม ต้นทางชีวิต
    ข้อสอบชีวิต
    เมตตาวิหารี เมตตารินใจ
    ลัดฟ้ามาหาใจ
    แนะนำเว็บไซด์
    ความสุขที่หายไป
    บทเรียนจากมหันตภัย
    บูรณภาพทางพระศาสนา
    กิจกรรมเดือนกุมภาพันธ์
    กิจกรรมอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษา
    วัยรุ่น วัยวุ่น วัยเรียน วัยรัก วัยลอง วū

    RSS Feed

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับทีปภาวัน
    • ความเป็นมา
    • มูลนิธิทีปภาวัน
    • พระภาวนาโพธิคุณ
  • อาคารสถานที่
    • แนะนำอาคารสถานที่
    • ศาลาปฏิบัติธรรม
    • อาคารที่พักผู้ปฏิบัติธรรมสุภาพสตรี
    • ทางเดินภายในพื้นที่
    • สวนธรรมเภรี
    • สวนป่าศิขรินสินธุ
    • สวนสมคิดกฤษณาสาระภู
    • ห้องครัวทีปภาวัน
  • หลักสูตรปฏิบัติธรรม
    • สุดสัปดาห์แสวงหาอริยทรัพย์ พื้นฐาน
    • หาสุขได้จากทุกข์ ขั้นกลาง
    • หาสุขได้จากทุกข์ ขั้นสูง
  • ข้อควรปฏิบัติ
  • สมัครปฏิบัติธรรม
  • กิจกรรม
    • ภาพกิจกรรม
    • โครงการปลูกป่า
    • โครงการธรรมะ
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ
  • การเดินทาง
    • รถทัวร์
    • รถไฟ
    • เครื่องบิน
    • รถส่วนตัว
    • จุดนัดพบทีปภาวัน
  • สื่่อธรรมะ