ห้องครัวทีปภาวัน...
อาหารสับปายะ หรือ การได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางอาหาร เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสนับสนุนให้เกิดความสะดวกคล่องตัวในการปฏิบัติธรรม ทีปภาวันธรรมสถานได้จัดอาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ปฏิบัติจำนวน ๒ มื้อต่อหนึ่งวัน ตอนเย็นเวลาประมาณ ๑๗ นาฬิกา จะมีเครื่องดื่มหรือน้ำปานะเสริมอีกหนึ่งรอบ
ที่ทีปภาวันธรรมสถาน มีการสวดบทพิจารณาอาหาร ก่อนรับประทานทั้งสองมื้อ การพิจารณาก่อนลงมือรับประทานอาหาร เป็นหนึ่งในแบบฝึกหัดปฏิบัติธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ฝึกฝนเพื่อให้รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของการรับประทานอาหาร คือ บริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ของตน ไม่ใช่บริโภคเพื่อประดับตกแต่งเสริมรสนิยม หรือเพื่อความมัวเมาในรสชาติของอาหาร เป็นการฝึกฝนด้วยการเรียนรู้ธรรมะผ่านการบริโภค ด้วยการบริโภคอย่างสติปัญญากำกับ ลดการบริโภคด้วยอำนาจของตัณหา
การพิจารณาก่อนการรับประทานอาหาร จึงเป็นอุบายเพื่อหาทางปิดช่องว่างไม่ให้ตัณหารั่วไหลเข้าสู่ใจ เปิดช่องทางให้สติปัญญาเจริญขึ้น นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถเรียนรู้ฝึกฝนธรรมะหลายอย่าง ผ่านการรับประทานอาหาร เช่น ฝึกความมีวินัย จากการรับประทานอาหารอย่างพร้อมเพรียงกัน ฝึกความอดทนระหว่างเข้าคิวรอตักอาหาร และรอความพร้อมเพรียงเพื่อรับประทานอาหาร ฝึกสติด้วยการใส่ใจความเคลื่อนไหว ในขณะบริโภค ทั้งหมดเป็นการฝึกนำธรรมะลงสู่ชีวิตจริง ผ่านกิจวัตรประจำวันขณะอยู่ระหว่างการปฏิบัติ ซึ่งแม้กลับไปบ้านแล้ว ผู้ปฏิบัติก็สามารถประยุกต์นำปรับใช้ในการฝึกฝนในชีวิตประจำวันอีกด้วย
อนึ่ง แม้ทางแผนกครัวและอาหารของทางทีปภาวันธรรมสถาน สามารถบริการอาหารให้ผู้ปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ แต่การตักอาหารอย่างพอดี และการรับประทานอาหารแต่พอดี ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ และการปฏิบัติธรรม ของผู้ปฏิบัติธรรมโดยตรงด้วย เนื่องจากหากบริโภคน้อยเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกหิว ไม่มีกำลังในการปฏิบัติ หากบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกอึดอัดและง่วงซึม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มีความสำคัญไม่น้อย เพราะการกินอยู่อย่างมีสติปัญญากำกับ ก็คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง นับตั้งแต่ระดับต้น และสามารถพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าในธรรมะระดับสูงต่อไปได้
ที่ทีปภาวันธรรมสถาน มีการสวดบทพิจารณาอาหาร ก่อนรับประทานทั้งสองมื้อ การพิจารณาก่อนลงมือรับประทานอาหาร เป็นหนึ่งในแบบฝึกหัดปฏิบัติธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ฝึกฝนเพื่อให้รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของการรับประทานอาหาร คือ บริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ของตน ไม่ใช่บริโภคเพื่อประดับตกแต่งเสริมรสนิยม หรือเพื่อความมัวเมาในรสชาติของอาหาร เป็นการฝึกฝนด้วยการเรียนรู้ธรรมะผ่านการบริโภค ด้วยการบริโภคอย่างสติปัญญากำกับ ลดการบริโภคด้วยอำนาจของตัณหา
การพิจารณาก่อนการรับประทานอาหาร จึงเป็นอุบายเพื่อหาทางปิดช่องว่างไม่ให้ตัณหารั่วไหลเข้าสู่ใจ เปิดช่องทางให้สติปัญญาเจริญขึ้น นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถเรียนรู้ฝึกฝนธรรมะหลายอย่าง ผ่านการรับประทานอาหาร เช่น ฝึกความมีวินัย จากการรับประทานอาหารอย่างพร้อมเพรียงกัน ฝึกความอดทนระหว่างเข้าคิวรอตักอาหาร และรอความพร้อมเพรียงเพื่อรับประทานอาหาร ฝึกสติด้วยการใส่ใจความเคลื่อนไหว ในขณะบริโภค ทั้งหมดเป็นการฝึกนำธรรมะลงสู่ชีวิตจริง ผ่านกิจวัตรประจำวันขณะอยู่ระหว่างการปฏิบัติ ซึ่งแม้กลับไปบ้านแล้ว ผู้ปฏิบัติก็สามารถประยุกต์นำปรับใช้ในการฝึกฝนในชีวิตประจำวันอีกด้วย
อนึ่ง แม้ทางแผนกครัวและอาหารของทางทีปภาวันธรรมสถาน สามารถบริการอาหารให้ผู้ปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ แต่การตักอาหารอย่างพอดี และการรับประทานอาหารแต่พอดี ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ และการปฏิบัติธรรม ของผู้ปฏิบัติธรรมโดยตรงด้วย เนื่องจากหากบริโภคน้อยเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกหิว ไม่มีกำลังในการปฏิบัติ หากบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกอึดอัดและง่วงซึม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มีความสำคัญไม่น้อย เพราะการกินอยู่อย่างมีสติปัญญากำกับ ก็คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง นับตั้งแต่ระดับต้น และสามารถพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าในธรรมะระดับสูงต่อไปได้