ชาคริยานุโยค
ชาคริยานุโยค เป็นการประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ตื่นอย่างคนที่ไม่หลับ คือการเป็นอยู่โดยมีสติอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุดคือการตื่นอยู่ในความเป็นมนุษย์ของตน อย่าได้หลงงมงาย คนที่ไม่รู้ความเป็นมนุษย์ของตนจะเป็นเหมือนคนที่หลับ จะต้องดำรงตนให้ตื่นอยู่เพื่อรู้จักความถูกต้องของการเป็นมนุษย์ รู้เท่าทันเหตุการณ์ทุกอย่างทุกชนิดที่จะเกิดขึ้น เกิดอยู่ หรือเกิดแล้ว รู้จักใช้สติปัญญาในที่ทุกสถาน อุปมาคือคนที่ตื่นอยู่มิได้หลับ
อปัณณกปฏิปทา ๓
อปัณณกปฏิปทา ๓ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด
๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖
๒. โภชเน มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา
๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
๒. โภชเน มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา
๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
ตารางปฏิบัติ
16.00 น. รับลงทะเบียน
ยามแรก (18.00 น. – 22.00 น.)
ทำวัตรเย็น เดินจงกรม นั่งสมาธิ
ยามสอง (22.00 น. – 02.00 น.)
นอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ยามสาม (02.00 น. – 06.00 น.)
เดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า
16.00 น. รับลงทะเบียน
ยามแรก (18.00 น. – 22.00 น.)
ทำวัตรเย็น เดินจงกรม นั่งสมาธิ
ยามสอง (22.00 น. – 02.00 น.)
นอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ยามสาม (02.00 น. – 06.00 น.)
เดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า