โครงการปลูกป่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมูลนิธิทีปภาวัน
หลักการและเหตุผล
ภาวการณ์ของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นที่รับรู้และเห็นตัวอย่างชัดเจนแล้วว่า ตกอยู่ในสภาวะที่วิกฤตหลายด้าน ไม่ว่าในเรื่องพื้นที่ป่าลดจำนวนจากการถูกตัดหรือทำลาย การขาดแคลนแหล่งน้ำ มลภาวะทางอากาศ ปัญหาการจัดการขยะ และผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เช่นอุทกภัย วาตภัย และการขาดแคลนพลังงานและอาหาร
ปัญหาวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมที่เริ่มรุนแรง ทำให้เกิดการตื่นตัว จากหลายฝ่ายที่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาล และกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งปัญหาวิกฤตดังกล่าวอาจจะรุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อความยั่งยืน ของอารยธรรมของมนุษย์ยุคนี้เลยทีเดียว ความตื่นตัวดังกล่าวได้นำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในทุกระดับ ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับชุมชน และระดับปัจเจกบุคคล เพื่อหาทางแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าว
ในขณะที่โลกปัจจุบันเริ่มจะตื่นตัว และแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหา พระพุทธศาสนา ได้แสดงให้เห็นชัดเจน ถึงความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงมีผลต่อกัน ผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซี่งมีทั้งหลักความจริงหรือหลักธรรมะ และหลักการปฏิบัติตามหลักนั้น อันเป็นแนวคิดที่มากไปกว่าการอนุรักษ์ธรรมดา ที่โดยทั่วไป จะเริ่มอนุรักษ์ก็ต่อเมื่อมีผลกระทบเสียหายเกิดขึ้นแล้ว
หลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนในเรื่องดังกล่าวได้แก่ ๑.หลักอิทัปปัจยตา หรือที่ว่าด้วยกฎความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สิ่งหนึ่งมีผลต่อความเป็นไปของอีกสิ่งหนึ่ง (สรุปด้วยพุทธวจนะที่ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี”) แสดงให้เห็นถึงความที่สิ่งต่างๆ ไม่อาจอยู่ดำรงแยกเป็นเอกเทศได้ แต่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งอื่นโดยความเป็นเหตุปัจจัยแก่กันเสมอ
๒. หลักธาตุ ๖ ที่ว่าด้วย ชีวิตประกอบด้วยองค์ประกอบ ๖ อย่าง หรือธาตุ ๖ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ หลักนี้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตนั้นคือธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ |
หลักการข้างต้นดังกล่าว ได้คลี่คลายมาสู่หลักการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาชีวิตในทางพระพุทธศาสนา อย่างมีความกลมกลืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อธรรมะ ในหลักภาวนา ๔ ประการ ได้แก่
๑. กายภาวนา การพัฒนาชีวิต โดยอาศัยการเป็นอยู่ที่ถูกต้อง สอดคล้องเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมด้านภายภาพ
๒. ศีลภาวนา การพัฒนาชีวิตโดยมีท่าทีและวิถีปฏิบัติที่ถูกต้อง ต่อสิ่งแวดล้อมด้านสังคม
๓. จิตภาวนา การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใน ด้านอารมณ์หรือจิตใจ
๔. ปัญญาภาวนา การพัฒนาชีวิตโดยการฝึกฝนเรียนรู้ เพื่อการรู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ โดยองค์รวมรวบยอดทั้งหมด จนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตนเอง และสังคม ปราศจากการเบียดตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น และเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติทั้ง ๔ อย่าง แสดงให้เห็นว่า ชีวิตมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ทางอารมณ์ และทางสติปัญญา พระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่าการจะพัฒนาฝึกฝนตนนั้น ต้องปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่ชีวิตเกี่ยวข้องด้วยอย่างถูกต้อง และอย่างเป็นองค์รวมที่ครบส่วนรอบด้าน ชีวิตจึงจะสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาตนได้ หรืออาจสรุปได้ว่า หลักการปฏิบัติธรรม หรือการพัฒนาชีวิตในทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นการปฏิบัติที่อาศัยธรรมชาติ เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติ และปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จนสามารถบรรลุถึงจุดหมาย แห่งการฝึกฝนพัฒนาชีวิต
หลักการของพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่า ชีวิต กับธรรมชาตินั้น เป็นเนื้อเดียวกัน หรือสามารถเป็นเหตุปัจจัยทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบแก่กันและกัน หลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา จึงตั้งอยู่บนรากฐานของหลักธรรมะหรือหลักความจริงดังกล่าว และปรากฏออกมาในรูปลักษณะแห่งการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการปฏิบัติแบบพึ่งพาอาศัยกันอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แบ่งแยกตัวตนออกมา จากธรรมชาติ แล้วยกสมอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของธรรมชาติ จะจัดการกับธรรมชาติอย่างไรก็ได้ หรือถือเอาประโยชน์อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่จะตามมา
๑. กายภาวนา การพัฒนาชีวิต โดยอาศัยการเป็นอยู่ที่ถูกต้อง สอดคล้องเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมด้านภายภาพ
๒. ศีลภาวนา การพัฒนาชีวิตโดยมีท่าทีและวิถีปฏิบัติที่ถูกต้อง ต่อสิ่งแวดล้อมด้านสังคม
๓. จิตภาวนา การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใน ด้านอารมณ์หรือจิตใจ
๔. ปัญญาภาวนา การพัฒนาชีวิตโดยการฝึกฝนเรียนรู้ เพื่อการรู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ โดยองค์รวมรวบยอดทั้งหมด จนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตนเอง และสังคม ปราศจากการเบียดตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น และเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติทั้ง ๔ อย่าง แสดงให้เห็นว่า ชีวิตมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ทางอารมณ์ และทางสติปัญญา พระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่าการจะพัฒนาฝึกฝนตนนั้น ต้องปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่ชีวิตเกี่ยวข้องด้วยอย่างถูกต้อง และอย่างเป็นองค์รวมที่ครบส่วนรอบด้าน ชีวิตจึงจะสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาตนได้ หรืออาจสรุปได้ว่า หลักการปฏิบัติธรรม หรือการพัฒนาชีวิตในทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นการปฏิบัติที่อาศัยธรรมชาติ เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติ และปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จนสามารถบรรลุถึงจุดหมาย แห่งการฝึกฝนพัฒนาชีวิต
หลักการของพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่า ชีวิต กับธรรมชาตินั้น เป็นเนื้อเดียวกัน หรือสามารถเป็นเหตุปัจจัยทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบแก่กันและกัน หลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา จึงตั้งอยู่บนรากฐานของหลักธรรมะหรือหลักความจริงดังกล่าว และปรากฏออกมาในรูปลักษณะแห่งการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการปฏิบัติแบบพึ่งพาอาศัยกันอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แบ่งแยกตัวตนออกมา จากธรรมชาติ แล้วยกสมอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของธรรมชาติ จะจัดการกับธรรมชาติอย่างไรก็ได้ หรือถือเอาประโยชน์อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่จะตามมา
ดังนั้น แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และพฤติกรรมการกินอยู่ที่สอดคล้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จึงอยู่ในหลักการและวิธีการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาทั้งโดยตรง และโดยอ้อม ผู้ปฏิบัติธรรม
ที่เข้าใจถึงแนวความคิด และหลักการของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
จะได้รับประโยชน์ในด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
สามารถบูรณาการการปฏิบัติธรรมได้อย่างรอบด้านครบส่วน ทั้งด้านกายภาพ ด้านสังคม
ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา
|
ด้วยเหตุนี้ ทางทีปภาวันธรรมสถาน โดยมูลนิธิทีปภาวัน ในฐานะเป็นองค์กรการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร ที่เผยแผ่ธรรมะและการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา จึงได้แสดงเจตจำนง ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ผืนดิน น้ำ รวมทั้งการรณรงค์บริโภคอาหารปลอดสารพิษ และการดำเนินเศรษฐกิจแบบพอเพียง (โภชเน มัตตัญญุตา) ไว้เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ
โดยเบื้องต้น ทางมูลนิธิทีปภาวัน จะได้ดำเนินนโยบาย โดยการพยายามสอดแทรกให้ความรู้ หรือแนวความคิดเรื่องธรรมะกับสิ่งแวดล้อม การเป็นอยู่อย่างพอเพียง ไว้ในการบรรยายธรรมะ และโดยผ่านกิจกรรมการปฏิบัติ ในกิจวัตรประจำวันของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติ เช่น การพิจารณาก่อนบริโภคอาหาร การปฏิบัติธรรม ในสถานที่ที่สงบร่มรื่น ใกล้ชิดกับป่าไม้ภูเขา และการนำทำกิจกรรมปลูกป่า ในพื้นที่ของทีปภาวันธรรมสถาน ในวาระโอกาสที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติที่เห็นเป็นรูปธรรมเหล่านี้ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะต่อยอดพัฒนาไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรมและหลักปฏิบัติในระดับต่อไป
ทั้งนี้ การปลูกฝังทัศนคติ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ความจริง โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถซึมซับถึงคุณค่า และบุญคุณของสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่มีต่อชีวิต จนกลายเป็นจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง จิตสำนึกและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในรื่องนี้ จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการกินอยู่ใช้สอย ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง มีการคำนึงถึงผลกระทบและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงในทุกด้าน
โดยเบื้องต้น ทางมูลนิธิทีปภาวัน จะได้ดำเนินนโยบาย โดยการพยายามสอดแทรกให้ความรู้ หรือแนวความคิดเรื่องธรรมะกับสิ่งแวดล้อม การเป็นอยู่อย่างพอเพียง ไว้ในการบรรยายธรรมะ และโดยผ่านกิจกรรมการปฏิบัติ ในกิจวัตรประจำวันของผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติ เช่น การพิจารณาก่อนบริโภคอาหาร การปฏิบัติธรรม ในสถานที่ที่สงบร่มรื่น ใกล้ชิดกับป่าไม้ภูเขา และการนำทำกิจกรรมปลูกป่า ในพื้นที่ของทีปภาวันธรรมสถาน ในวาระโอกาสที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติที่เห็นเป็นรูปธรรมเหล่านี้ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะต่อยอดพัฒนาไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรมและหลักปฏิบัติในระดับต่อไป
ทั้งนี้ การปลูกฝังทัศนคติ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ความจริง โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถซึมซับถึงคุณค่า และบุญคุณของสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่มีต่อชีวิต จนกลายเป็นจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง จิตสำนึกและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในรื่องนี้ จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการกินอยู่ใช้สอย ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง มีการคำนึงถึงผลกระทบและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงในทุกด้าน
การดำเนินโครงการ
๑. นำประชาชน เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการปฏิบัติธรรม ร่วมกันปลูกป่าในโอกาสวันสำคัญต่างๆ
๒. เผยแผ่ความรู้เรื่องพืชพันธ์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก่ประชาชนทั่วไป และนักเรียน นิสิตนักศึกษา ที่เข้าอบรมหลักสูตรปฏิบัติธรรม
๓. จัดซื้อ จัดหาพื้นที่ปลูกต้นไม้ เพื่อขยายพื้นที่ป่าไม้ให้เพิ่มมากขึ้น
๔. ประสานงาน หรือร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชน สถานศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป ในการดำเนินกิจกรรมปลูกป่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๕. นำร่องกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปลูกป่า ในพื้นที่ทีปภาวันธรรมสถาน และพื้นที่ภายในการกำกับดูแล
๖. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์กล้าไม้ ที่จะนำไปปลูกป่า
๗. รวบรวมข้อมูลเรื่องพืชพันธ์ุ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้และศึกษาค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว
เป้าหมายของโครงการ
๑. สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ภายในเกาะสมุย เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ทางพืชพันธุ์และป่าไม้ ในฐานะเป็นแหล่งต้นน้ำและสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศน์
๒. มีส่วนส่งเสริม และเป็นแบบอย่าง ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนรุ่นใหม่
๓. ประชาชนทั่วไป และจากหน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร เกิด จิตสำนึกเห็นความสำคัญ ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และนำไปลงมือปฏิบัติในชีวิตจริง
๔. ผู้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรธรรมปฏิบัติ เข้าใจหลักธรรมะและหลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาแบบองค์รวม ด้านกายภาพ สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา สามารถบูรณาการและประยุกต์หลักทั้ง ๔ ด้าน สู่การปฏิบัติในวิถีชีวิตปกติ