..บทความสิ่งแวดล้อม..
เมื่อฟ้าเปลี่ยนสี
โดยเว็บมาสเตอร์
นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปี องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เพิ่มพูนและพัฒนาต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ โลกถูกปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์พัฒนาขึ้นมา
จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ นวัตกรรมความก้าวหน้าล่าสุดด้านต่างๆ ต่างก็ยังทยอยออกมาสร้างความทึ่งและตื่นเต้นให้กับมนุษย์เรา แต่ในขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม ก็แสดงความแปรปรวนผันผวนค่อนข้างรุนแรง ส่งผลกระทบให้เกิดความเดือดร้อน ต่อชีวิตทรัพย์สิน และความเป็นอยู่ของผู้คนในหลายภูมิภาคของโลก นวัตกรรมความก้าวหน้าทั้งหลายที่มีอยู่ จึงควบคู่ไปกับความตื่นตระหนก ต่อภาวการณ์ที่รุนแรง ซึ่งไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น หรือมีความรุนแรงและถี่บ่อยขนาดนี้ พร้อมกันนั้น ยังแสดงให้เห็นว่า ความก้าวหน้าพัฒนา ในสารพัดรูปแบบแห่งนวัตกรรม ที่ออกมาสนองความสะดวกสบายของมนุษย์นั้น ยังอยู่ห่างไกลนักกับการเข้าไปเทียบเคียง หรือต่อกรกับพลังอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ
นักวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ได้พยายามหาคำตอบ และได้ข้อสรุปว่า ความรุนแรงทางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดังกล่าว เกิดจากอุณหภูมิภูมิอากาศของโลกที่สูงเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ภาวะโลกร้อน" ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมไปทั่วโลก และเกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ต่อระบบนิเวศน์อื่นๆ ตามมา
มีการสืบเสาะหาตัวการสำคัญซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา และพบว่ามาจากสิ่งอันเป็นผลพวงของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแบบขาดความสมดุล ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
หากข้อสรุปเช่นว่านั้น ถูกต้อง ย่อมแสดงว่า มนุษย์สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมความก้าวหน้าใหม่ๆ ขึ้นมาก็จริง หากแต่ไม่ใช่เป็นการได้มาเปล่า จากมันสมองล้วนๆ แต่เป็นการแลกกับสิ่งที่มีค่า นั่นคือ ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ทั่วผืนโลก เมื่อสมดุลระบบนิเวศน์ที่คอยปกป้องและเกื้อกูลวิถีชีวิตของมนุษยชาติมาตลอด สูญเสียสภาพไป ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เคยเกื้อกูลเป็นมิตร จึงกลายเป็นอันตรายใกล้ตัวที่ไม่รู้จะแผลงฤทธิ์ขึ้นมาเมื่อไร
มีการสืบเสาะหาตัวการสำคัญซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา และพบว่ามาจากสิ่งอันเป็นผลพวงของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแบบขาดความสมดุล ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
หากข้อสรุปเช่นว่านั้น ถูกต้อง ย่อมแสดงว่า มนุษย์สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมความก้าวหน้าใหม่ๆ ขึ้นมาก็จริง หากแต่ไม่ใช่เป็นการได้มาเปล่า จากมันสมองล้วนๆ แต่เป็นการแลกกับสิ่งที่มีค่า นั่นคือ ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ทั่วผืนโลก เมื่อสมดุลระบบนิเวศน์ที่คอยปกป้องและเกื้อกูลวิถีชีวิตของมนุษยชาติมาตลอด สูญเสียสภาพไป ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เคยเกื้อกูลเป็นมิตร จึงกลายเป็นอันตรายใกล้ตัวที่ไม่รู้จะแผลงฤทธิ์ขึ้นมาเมื่อไร
แม้ความจริงของสมมุติฐานดังกล่าว จะได้รับการยืนยัน และพิสูจน์จนปรากฏแน่ชัดพอสมควร แต่ยังมีอีกหลายฝ่าย อ้างว่า ปรากฏการณ์ความรุนแรงทางธรรมชาติดังกล่าว หาใช่ผลพวงอันเกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม่ แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติตามปกติ และแม้ว่าจะยอมรับความจริงนั้นอยู่บ้าง แต่ข้ออ้างเรื่องปากท้อง ทำให้เกิดสภาวะหยุดไม่ได้ หรือจำยอมที่จะกอดคอกันเผชิญชะตากรรมในวันข้างหน้า ชนิดอะไรจะเกิดขึ้นก็ช่าง ไม่ห่วงแม้กระทั่งว่ามนุษยชาติรุ่นหลัง จะสืบทอดอารยธรรมต่อไปได้อย่างไร การส่งข่าวสารเตือนล่วงหน้าของธรรมชาติ เพื่อให้มีการพัฒนาแบบประนีประนอมกับสิ่งแวดล้อม หรือบันยะบันยังเรื่องการพัฒนาด้านวัตถุอย่างสุดขั้ว ชนิดไม่คำนึงถึงผลกระทบลงบ้าง จึงเหมือนดูไร้ผลตอบรับ
ความวิปริตแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลก ได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ค่อนข้างรุนแรงไปทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่แต่จะสร้างความเสียหายให้เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเฉพาะจุดเท่านั้น ความเดือดร้อนเสียหายดังกล่าว ยังส่งผลกระทบ ในด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งในวงกว้าง และในระยะยาวตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความวิปริตแปรปรวนทางธรรมชาติ และการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ทำให้มนุษย์ในโลกทุกคน มีความเกี่ยวเนื่องถึงกันในแทบทุกๆ มิติ ผลกระทบที่รุนแรงด้านใดด้านหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ที่หนึ่ง จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนแบบรอบทิศไปยังอีกหลายที่อย่างไม่ช้าก็เร็ว ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม วิกฤตสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวพอที่แต่ละคนจะสามารถหลีกเลี่ยงพ้นหรือวิ่งหนีได้
ความวิปริตแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลก ได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ค่อนข้างรุนแรงไปทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่แต่จะสร้างความเสียหายให้เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเฉพาะจุดเท่านั้น ความเดือดร้อนเสียหายดังกล่าว ยังส่งผลกระทบ ในด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งในวงกว้าง และในระยะยาวตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความวิปริตแปรปรวนทางธรรมชาติ และการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ทำให้มนุษย์ในโลกทุกคน มีความเกี่ยวเนื่องถึงกันในแทบทุกๆ มิติ ผลกระทบที่รุนแรงด้านใดด้านหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ที่หนึ่ง จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนแบบรอบทิศไปยังอีกหลายที่อย่างไม่ช้าก็เร็ว ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม วิกฤตสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวพอที่แต่ละคนจะสามารถหลีกเลี่ยงพ้นหรือวิ่งหนีได้
ความหวังและทางออก ที่จะเกิดผลรวดเร็วในทางปฏิบัติมากที่สุด ในการรับมือกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หนีไม่พ้นความรับผิดชอบ และการตระหนักรู้แล้วลงมือแก้ไข ในระดับปัจเจกบุคคล โดยมุ่งไปที่การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต และการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ย่อยๆ ใกล้ตัวก่อน โดยการอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกตด้วยตนเอง หรือแหล่งข้อมูลในเรื่องนี้ซึ่งมีอยู่มากมาย
โดยการอาศัยศักยภาพทางสร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้น และลำดับถัดมา ด้วยเหตุที่แต่ละคนมีสังคมที่ตนสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยโดยรอบด้าน นับจากระดับครอบครัวเป็นต้นไป ความคิดและการกระทำเชิงสร้างสรรค์ การฟื้นฟูและแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่มีอยู่ในตัวของบุคคลคนหนึ่ง ก็เป็นเช่นเดียวกันการขยายตัวของกระแสด้านผลกระทบ กล่าวคือจะความคิดและการกระทำเชิงสร้างสรรค์ของเขา จะเกิดเป็นกระแสสร้างสรรค์ในมุมกลับกัน ที่กระจายผลต่อไปในวงกว้าง โดยเฉพาะหากปัจเจกชนนั้น เป็นผู้นำในสังคม ผู้นำจิตวิญญาณในทางศาสนา ผู้ที่มีพลังในการโน้มน้าวมวลชนสูง หรือผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจในชุมชม ในองค์กร หรือในระดับประเทศ กล่าวคือ ปัจเจกชนที่ว่านี้จะยิ่งสามารถสร้างแรงกระเพื่อมหรือกระแสการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พลังของปัจเจกชนคนเดียวจึงเป็นความหวัง ที่ไม่อาจเรียกได้ว่าริบหรี่ แต่เป็นความหวังอันเปี่ยมพลังที่สามารถนำไปสู่การเยียวยาและเปลี่ยนแปลงโลก ให้เกิดความเกื้อกูลพอดีระหว่างการพัฒนาอารยธรรมของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน กับการคงสภาพอันสมดุลของระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมโลกต่อไป
โดยการอาศัยศักยภาพทางสร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้น และลำดับถัดมา ด้วยเหตุที่แต่ละคนมีสังคมที่ตนสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยโดยรอบด้าน นับจากระดับครอบครัวเป็นต้นไป ความคิดและการกระทำเชิงสร้างสรรค์ การฟื้นฟูและแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่มีอยู่ในตัวของบุคคลคนหนึ่ง ก็เป็นเช่นเดียวกันการขยายตัวของกระแสด้านผลกระทบ กล่าวคือจะความคิดและการกระทำเชิงสร้างสรรค์ของเขา จะเกิดเป็นกระแสสร้างสรรค์ในมุมกลับกัน ที่กระจายผลต่อไปในวงกว้าง โดยเฉพาะหากปัจเจกชนนั้น เป็นผู้นำในสังคม ผู้นำจิตวิญญาณในทางศาสนา ผู้ที่มีพลังในการโน้มน้าวมวลชนสูง หรือผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจในชุมชม ในองค์กร หรือในระดับประเทศ กล่าวคือ ปัจเจกชนที่ว่านี้จะยิ่งสามารถสร้างแรงกระเพื่อมหรือกระแสการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พลังของปัจเจกชนคนเดียวจึงเป็นความหวัง ที่ไม่อาจเรียกได้ว่าริบหรี่ แต่เป็นความหวังอันเปี่ยมพลังที่สามารถนำไปสู่การเยียวยาและเปลี่ยนแปลงโลก ให้เกิดความเกื้อกูลพอดีระหว่างการพัฒนาอารยธรรมของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน กับการคงสภาพอันสมดุลของระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมโลกต่อไป