ทางเลือกสู่ความรอด
โดย ผู้ดูแลเว็บ
องคาพยพแห่งการขับเคลื่อนสังคม
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นวัตถุประสงค์หลักของประเทศ โดยอาศัยกลไกหลัก ได้แก่ การจัดการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ และนโยบายการบริหารปกครองประเทศ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยรูปแบบแห่งกลไกเหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้รับมาจากประเทศที่ถือกันว่าพัฒนาแล้ว ทั้งหลาย ด้วยเชื่อว่าเป็นต้นแบบมาตรฐานแห่งการพัฒนา
ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมโลก ที่มีการติดต่อกับนานาประเทศ ผ่านการค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยะธรรมด้านต่างๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพลวัตหลักที่ขับเคลื่อนให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งยิ่งทำให้การเชื่อมโยงและพึ่งพาระหว่างประเทศกับโลกภายนอก มีโยงใยที่แนบแน่นและซับซ้อนยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร มีความรวดเร็วล้ำสมัย ทำให้โลกไร้ขอบเขตพรมแดน กระแสสังคมและวัฒนธรรม อันเชี่ยวกราก ในรูปแบบของค่านิยมและแนวคิดอันหลากหลาย ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเอาอย่าง ต่างไหลบ่ามาพร้อมกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงกึ่งแอบแฝงการโฆษณาชวนเชื่อ และกลายเป็นกลไกโดยอ้อมอย่างหนึ่ง ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ
ทั้งนี้ ประชากรของประเทศ คือผู้มีบทบาทโดยตรง ในการรับเอากลไกหลัก และกลไกโดยอ้อมเหล่านั้น มาขับเคลื่อนนำพาประเทศให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะทำในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้ผิดชอบโดยตรง เช่น ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการ หรือในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกต่างๆ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งอยู่แล้วโดยปริยายก็ตาม
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นวัตถุประสงค์หลักของประเทศ โดยอาศัยกลไกหลัก ได้แก่ การจัดการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ และนโยบายการบริหารปกครองประเทศ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยรูปแบบแห่งกลไกเหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้รับมาจากประเทศที่ถือกันว่าพัฒนาแล้ว ทั้งหลาย ด้วยเชื่อว่าเป็นต้นแบบมาตรฐานแห่งการพัฒนา
ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมโลก ที่มีการติดต่อกับนานาประเทศ ผ่านการค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยะธรรมด้านต่างๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นพลวัตหลักที่ขับเคลื่อนให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งยิ่งทำให้การเชื่อมโยงและพึ่งพาระหว่างประเทศกับโลกภายนอก มีโยงใยที่แนบแน่นและซับซ้อนยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร มีความรวดเร็วล้ำสมัย ทำให้โลกไร้ขอบเขตพรมแดน กระแสสังคมและวัฒนธรรม อันเชี่ยวกราก ในรูปแบบของค่านิยมและแนวคิดอันหลากหลาย ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเอาอย่าง ต่างไหลบ่ามาพร้อมกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงกึ่งแอบแฝงการโฆษณาชวนเชื่อ และกลายเป็นกลไกโดยอ้อมอย่างหนึ่ง ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ
ทั้งนี้ ประชากรของประเทศ คือผู้มีบทบาทโดยตรง ในการรับเอากลไกหลัก และกลไกโดยอ้อมเหล่านั้น มาขับเคลื่อนนำพาประเทศให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะทำในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้ผิดชอบโดยตรง เช่น ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการ หรือในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกต่างๆ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งอยู่แล้วโดยปริยายก็ตาม
วิกฤติการณ์ สภาวะพื้นฐานของชีวิตในสังคม
สิ่งที่นับว่าอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของกลไกหรือระบบต่างๆ คือ ความต้องการและความจำเป็นด้านต่างๆ ของประชากรในประเทศ เนื่องจาก ประชากรในประเทศต่างอาศัยกลไกเหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหา และตอบสนองความต้องการต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น วัตถุปัจจัยที่ใช้ในการบำรุงเลี้ยงชีวิต และนามธรรม เช่น ยศ อำนาจ ชื่อเสียง ความรื่นรมย์ วิชาความรู้ และค่านิยม เป็นต้น ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน คือ ปัจจัยเลี้ยงชีวิตเท่านั้น กลไกและระบบที่มี จึงไม่สามารถทำให้ทุกคนในสังคม บรรลุถึงความต้องการและความจำเป็นของตนได้ แม้จะเพียงในระดับของความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ตาม ไม่จำต้องกล่าวถึง การสนองความต้องการ ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน มากน้อยไม่เท่ากัน รวมไปถึง ความสามารถในการแสวงหา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการของแต่ละคน ก็มีไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่าง ในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อสนองความต้องการด้านการอุปโภคบริโภคอันหลากหลายของประชาชน ตามจำนวนของประชากรในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ปรากฏว่าเกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของการกระจายทรัพยากรขึ้นมา เพราะความต้องการบางอย่างของประชากรส่วนหนึ่งนั้นมากเกินจำเป็น แต่ก็สามารถหามาสนองความต้องการของตนได้ ขณะที่ความต้องการบางอย่างของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นหรือเกี่ยวกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานแท้ๆ แต่กลับไม่สามารถหามาสนองความจำเป็นของตนได้
ทั้งนี้ แม้ไม่ต้องถึงขนาดให้ทุกคนมีฐานะและโอกาสทางสังคมที่เท่าเทียมกันก็ตาม เพียงการเข้าถึงทรัพยากรที่สนองความต้องการของประชากรภายในประเทศก็เป็นไปในลักษณะขาดๆ เกินๆ จนเป็นที่มาของปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่มีคำเรียกแทนว่า เป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือเป็นช่องว่างของฐานะและโอกาสทางสังคม จะเห็นได้ว่า แม้ในระดับของความต้องการและความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ยังเกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว จะกล่าวไปไยถึงความต้องการที่เกินจำเป็น หรือความต้องการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือกลไกอื่นๆ ซึ่งสามารถก่อปัญหาอื่นตามมาอีก
ความต้องการ และความจำเป็นด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันของสมาชิกในสังคม จึงเป็นต้นตอของปัญหาที่สำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้มองเห็นความเป็นจริงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ยกกรณีปัญหาใดๆ ก็ได้ในสังคมขึ้นมา แล้วสาวหาเหตุแห่งปัญหาลงไป สุดท้ายก็จะพบว่า มีสาเหตุมาจากเรื่องที่เกี่ยวกับความต้องการ และความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่ผิดหรือถูก เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานแบบจำเป็นจริงๆ หรือความจำเป็นแบบเกินจำเป็น ก็ตาม
การแสวงหาสิ่งมาสนองความต้องการแต่ละอย่าง ของประชากรในประเทศ กำลังเป็นไปโดยอาศัยกลไกทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ท่ามกลางทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด อาศัยกลไกทางระบบเศรษฐกิจ และระบบการศึกษา ที่ไม่มีใครกล้ายืนยัน หรือรับประกันได้ว่า คือคำตอบหรือทางเลือกที่ดีแล้ว และการขับเคลื่อนกลไกเหล่านี้ ก็เกิดขึ้นท่ามกลางระบบของสังคมที่เริ่มกระปรกกะเปลี้ยและเปราะบาง ขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากสภาพบีบรัด ทำให้ต่างคนต่างต้องแข่งกันเพื่อเอาตัวรอด มีความเกื้อกูลหรือเห็นอกเห็นใจกันน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งหมดทั้งมวล ล้วนกำลังเป็นไปบนสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองที่ขาดความมั่นคงหย่อนเสถียรภาพ
สิ่งที่นับว่าอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของกลไกหรือระบบต่างๆ คือ ความต้องการและความจำเป็นด้านต่างๆ ของประชากรในประเทศ เนื่องจาก ประชากรในประเทศต่างอาศัยกลไกเหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหา และตอบสนองความต้องการต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น วัตถุปัจจัยที่ใช้ในการบำรุงเลี้ยงชีวิต และนามธรรม เช่น ยศ อำนาจ ชื่อเสียง ความรื่นรมย์ วิชาความรู้ และค่านิยม เป็นต้น ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน คือ ปัจจัยเลี้ยงชีวิตเท่านั้น กลไกและระบบที่มี จึงไม่สามารถทำให้ทุกคนในสังคม บรรลุถึงความต้องการและความจำเป็นของตนได้ แม้จะเพียงในระดับของความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ตาม ไม่จำต้องกล่าวถึง การสนองความต้องการ ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน มากน้อยไม่เท่ากัน รวมไปถึง ความสามารถในการแสวงหา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการของแต่ละคน ก็มีไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่าง ในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อสนองความต้องการด้านการอุปโภคบริโภคอันหลากหลายของประชาชน ตามจำนวนของประชากรในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ปรากฏว่าเกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของการกระจายทรัพยากรขึ้นมา เพราะความต้องการบางอย่างของประชากรส่วนหนึ่งนั้นมากเกินจำเป็น แต่ก็สามารถหามาสนองความต้องการของตนได้ ขณะที่ความต้องการบางอย่างของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นหรือเกี่ยวกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานแท้ๆ แต่กลับไม่สามารถหามาสนองความจำเป็นของตนได้
ทั้งนี้ แม้ไม่ต้องถึงขนาดให้ทุกคนมีฐานะและโอกาสทางสังคมที่เท่าเทียมกันก็ตาม เพียงการเข้าถึงทรัพยากรที่สนองความต้องการของประชากรภายในประเทศก็เป็นไปในลักษณะขาดๆ เกินๆ จนเป็นที่มาของปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่มีคำเรียกแทนว่า เป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือเป็นช่องว่างของฐานะและโอกาสทางสังคม จะเห็นได้ว่า แม้ในระดับของความต้องการและความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ยังเกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว จะกล่าวไปไยถึงความต้องการที่เกินจำเป็น หรือความต้องการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือกลไกอื่นๆ ซึ่งสามารถก่อปัญหาอื่นตามมาอีก
ความต้องการ และความจำเป็นด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันของสมาชิกในสังคม จึงเป็นต้นตอของปัญหาที่สำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้มองเห็นความเป็นจริงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ยกกรณีปัญหาใดๆ ก็ได้ในสังคมขึ้นมา แล้วสาวหาเหตุแห่งปัญหาลงไป สุดท้ายก็จะพบว่า มีสาเหตุมาจากเรื่องที่เกี่ยวกับความต้องการ และความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่ผิดหรือถูก เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานแบบจำเป็นจริงๆ หรือความจำเป็นแบบเกินจำเป็น ก็ตาม
การแสวงหาสิ่งมาสนองความต้องการแต่ละอย่าง ของประชากรในประเทศ กำลังเป็นไปโดยอาศัยกลไกทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ท่ามกลางทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด อาศัยกลไกทางระบบเศรษฐกิจ และระบบการศึกษา ที่ไม่มีใครกล้ายืนยัน หรือรับประกันได้ว่า คือคำตอบหรือทางเลือกที่ดีแล้ว และการขับเคลื่อนกลไกเหล่านี้ ก็เกิดขึ้นท่ามกลางระบบของสังคมที่เริ่มกระปรกกะเปลี้ยและเปราะบาง ขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากสภาพบีบรัด ทำให้ต่างคนต่างต้องแข่งกันเพื่อเอาตัวรอด มีความเกื้อกูลหรือเห็นอกเห็นใจกันน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งหมดทั้งมวล ล้วนกำลังเป็นไปบนสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองที่ขาดความมั่นคงหย่อนเสถียรภาพ
ดังนั้น ขณะที่กลไกของระบบต่างๆ ดำเนินไป พร้อมกับความก้าวหน้าพัฒนาของประเทศ ปัญหาต่างๆ ก็เกิดขึ้นควบคู่กันไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และเป็นสิ่งที่สังคมรับรู้ร่วมกัน อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ได้แก่
๑. ปัญหาทางสังคม ซึ่งถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลในสังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนาโดยตรง เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาอาชญากรรม
๒. ปัญหาอันเนื่องมาจากกลไกอันเป็นเครื่องมือของการพัฒนาโดยตรง เช่นปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาระบบการศึกษา ปัญหาทางการเมือง
๓. และสุดท้าย ปัญหาซึ่งเป็นผลข้างเคียงแห่งการพัฒนา ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางอาหาร ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาการจัดการขยะ
ปัญหาต่างๆ ทั้งหมด รวมกันมาขมวดปมอยู่ที่ปัญหาสุดท้ายคือ ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ กล่าวคือ ทุกปัญหามีผลกระทบโดยตรงต่อจิตใจของแต่ละคน ซึ่งจะหนักเบา ก็แล้วแต่ระดับของปัญหาด้านต่างๆที่ได้รับ หรือ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่ทำให้แต่ละคนเข้าไปส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งถ้าจะว่ากันในระดับชาติแล้ว ทุกปัญหาเหล่านี้ กำลังขยายขอบเขตและความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาดินพอกหางหมู ที่นับวันจะเพิ่มขนาดจนเกือบจะฝังหมูทั้งตัวได้มิด
ผลกระทบข้างเคียง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางจิตใจเหล่านี้นำมาซึ่งการเรียกร้อง และความพยายาม เพื่อหาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา ระหว่างการปรับรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และการคงไว้ซึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ของคนในชาติ ระหว่างการทุ่มเทแสวงหาวัตถุสิ่งเสพสิ่งบริโภคอย่างเต็มที่โดยไม่เลือกวิธีการ กับการใส่ถึงคุณค่าทางจิตใจและความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยระบบการศึกษาและกลไกทางสังคมต่างๆ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นทางออก หรือเป็นบ่อเกิดของปัญหา ส่วนหนึ่งด้วยเหมือนกัน
ยอมรับและแสวงหาทางออก
สิ่งที่ซ้ำเติมให้ทุกคนต้องรับภาระที่หนักและซับซ้อนขึ้นไปอีก คือ ระบบเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งทำให้โลกนี้แคบลงทุกขณะ ความเปลี่ยนแปลงในอีกซีกโลกหนึ่งสามารถส่งผลกระเทือน ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ดังนั้น แม้ว่า เทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจที่ใช้กันอยู่ จะช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีส่วนสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้อย่างอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การที่ชีวิตต้องมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง และอิงอาศัยระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม หรือ ระบบการพัฒนาอื่นใดก็แล้วแต่ร่วมกับสังคมอื่น ประเทศอื่น ชีวิตมีจึงตัวแปรที่สามารถเป็นต้นตอแห่งปัญหามากขึ้น ทำให้เหตุปัจจัยของปัญหาหรือความทุกข์ อยู่เหนือ การควบคุมมากยิ่งขึ้นไปอีก ชีวิตอาจประสบกับปัญหาแบบไม่ทันตั้งตัว หรือจัดการกับปัญหาต่างๆที่มีอยู่ได้ยากขึ้น
การที่สมาชิกในสังคมมีความยึดโยงเกี่ยวข้องกันแทบทุกด้าน ทำให้ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ทุกคนในสังคม มีชะตากรรมร่วมกัน หรือ ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ความรอดของคนคนหนึ่งในสังคม ย่อมมีส่วนต่อความรอดปลอดภัย ของสมาชิกคนอื่นในสังคมเช่นเดียวกัน ความอยู่รอดปลอดภัยของคนอื่น ย่อมหมายถึงความอยู่รอดปลอดภัยของตัวเราเช่นเดียวกัน
๑. ปัญหาทางสังคม ซึ่งถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลในสังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนาโดยตรง เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาอาชญากรรม
๒. ปัญหาอันเนื่องมาจากกลไกอันเป็นเครื่องมือของการพัฒนาโดยตรง เช่นปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาระบบการศึกษา ปัญหาทางการเมือง
๓. และสุดท้าย ปัญหาซึ่งเป็นผลข้างเคียงแห่งการพัฒนา ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางอาหาร ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาการจัดการขยะ
ปัญหาต่างๆ ทั้งหมด รวมกันมาขมวดปมอยู่ที่ปัญหาสุดท้ายคือ ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ กล่าวคือ ทุกปัญหามีผลกระทบโดยตรงต่อจิตใจของแต่ละคน ซึ่งจะหนักเบา ก็แล้วแต่ระดับของปัญหาด้านต่างๆที่ได้รับ หรือ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่ทำให้แต่ละคนเข้าไปส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งถ้าจะว่ากันในระดับชาติแล้ว ทุกปัญหาเหล่านี้ กำลังขยายขอบเขตและความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาดินพอกหางหมู ที่นับวันจะเพิ่มขนาดจนเกือบจะฝังหมูทั้งตัวได้มิด
ผลกระทบข้างเคียง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางจิตใจเหล่านี้นำมาซึ่งการเรียกร้อง และความพยายาม เพื่อหาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา ระหว่างการปรับรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และการคงไว้ซึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ของคนในชาติ ระหว่างการทุ่มเทแสวงหาวัตถุสิ่งเสพสิ่งบริโภคอย่างเต็มที่โดยไม่เลือกวิธีการ กับการใส่ถึงคุณค่าทางจิตใจและความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยระบบการศึกษาและกลไกทางสังคมต่างๆ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นทางออก หรือเป็นบ่อเกิดของปัญหา ส่วนหนึ่งด้วยเหมือนกัน
ยอมรับและแสวงหาทางออก
สิ่งที่ซ้ำเติมให้ทุกคนต้องรับภาระที่หนักและซับซ้อนขึ้นไปอีก คือ ระบบเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งทำให้โลกนี้แคบลงทุกขณะ ความเปลี่ยนแปลงในอีกซีกโลกหนึ่งสามารถส่งผลกระเทือน ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ดังนั้น แม้ว่า เทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจที่ใช้กันอยู่ จะช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีส่วนสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้อย่างอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การที่ชีวิตต้องมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง และอิงอาศัยระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม หรือ ระบบการพัฒนาอื่นใดก็แล้วแต่ร่วมกับสังคมอื่น ประเทศอื่น ชีวิตมีจึงตัวแปรที่สามารถเป็นต้นตอแห่งปัญหามากขึ้น ทำให้เหตุปัจจัยของปัญหาหรือความทุกข์ อยู่เหนือ การควบคุมมากยิ่งขึ้นไปอีก ชีวิตอาจประสบกับปัญหาแบบไม่ทันตั้งตัว หรือจัดการกับปัญหาต่างๆที่มีอยู่ได้ยากขึ้น
การที่สมาชิกในสังคมมีความยึดโยงเกี่ยวข้องกันแทบทุกด้าน ทำให้ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ทุกคนในสังคม มีชะตากรรมร่วมกัน หรือ ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ความรอดของคนคนหนึ่งในสังคม ย่อมมีส่วนต่อความรอดปลอดภัย ของสมาชิกคนอื่นในสังคมเช่นเดียวกัน ความอยู่รอดปลอดภัยของคนอื่น ย่อมหมายถึงความอยู่รอดปลอดภัยของตัวเราเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การมองปัญหาให้ออก เพื่อพยายามหาทางออกร่วมกัน ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ที่ควรร่วมรับผิดชอบ ในฐานะที่เป็นสมาชิกในสังคม ที่มีส่วนได้รับประโยชน์ และได้รับผลกระทบ ทั้งยังอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างปัญหาขึ้นมาไม่มากก็น้อย
แม้ทุกคนต่างรับรู้ความจริง อยู่แล้วว่า กำลังอยู่ในโลกหรือสังคม ที่ไม่มีทางสมบูรณ์แบบ จึงไม่มีใครกล้าคาดหวังอยู่แล้วว่า ทุกกลไกทุกระบบ จะมีความสมบูรณ์แบบไร้ปัญหา แต่ในฐานะที่แต่ละคนเป็นสมาชิกสังคม และต่างก็ใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาความสุข แสวงหาเป้าหมายของชีวิต โดยอาศัยสังคมประเทศชาติ อาศัยเพื่อนมนุษย์ อาศัยสิ่งแวดล้อม หรืออาศัยใบโลกนี้ ดังนั้น การแสวงวิธี และลงมือปฏิบัติ เพื่อบรรเทาเบาบางปัญหา หรือยับยั้งความรุนแรง ไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป จึงเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าการอยู่นิ่งเฉย เพราะไม่ว่าใคร ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆของชีวิตได้เลย หากสังคมและประเทศชาติ หรือแม้กระทั่งโลกนี้ไปไม่รอด
หรืออีกนัยหนึ่งนั้น ชีวิตสามารถเรียนรู้อะไรได้มาก จากความไม่สมบูรณ์แบบของโลก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพ ความเข้าใจโลกและชีวิต ดังนั้น ชีวิตจึงสามารถเข้าถึงความสุขซึ่งเป็นจุดหมายของแต่ละชีวิต และสร้างคุณค่าต่างๆ ให้กับชีวิต จากโลกหรือสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาได้ การยอมรับและหาทางแก้ไขเยียวยาโลกและสังคมให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและลงมือทำ มากกว่าการยอมรับแล้วอยู่นิ่งเฉยอย่างสิ้นหวัง และการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองอย่างเดียว โดยไม่คำนึงที่ความรับผิดชอบที่ชีวิตควรมีต่อประเทศชาติ ต่อโลกและสังคมแม้แต่น้อย
เมื่อจะก้าวไปสู่การลงมือเพื่อเผชิญหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ คำถามที่เกิดขึ้นต่อมา คือ หากองค์ความรู้ และวิทยาการด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของศักยภาพของสังคม ที่มีอยู่ ไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการปัญหา หรือสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นได้ ในฐานะปัจเจกชนซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งในสังคม ควรเริ่มต้นอย่างไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตน และของสังคมร่วมกัน
ก่อนอื่นใด การจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เริ่มต้น ต้องไม่ใช่การหาคนผิดมารับผิดชอบ เพราะแม้จะหาได้ ก็ไม่มีทางที่ใครคนนั้นจะรับผิดชอบได้ไหว หรือแก้ไขปัญหาได้ เรื่องสำคัญเช่นนี้ ถือเป็นหน้าที่ของผู้ที่ตื่นตัว และมีจิตสำนึกรู้ ในการทำหน้าที่ที่สำคัญ ด้วยการเป็นผู้ริเริ่มกระทำการแก้ไข ตามระดับของบทบาทหน้าที่ และความรู้ความสามารถที่จะทำได้
เมื่อเริ่มต้น ที่การไม่มองหาคนใกล้ตัวหรือไกลตัวมารับผิดแล้ว ประการสำคัญต่อมา คือ ผู้ที่สามารถมองปมประเด็นของปัญหาให้ออก จะสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหา และชะลอสภาพปัญหาทั้งของตน และของสังคมได้ไวและตรงทางที่สุด
แม้ทุกคนต่างรับรู้ความจริง อยู่แล้วว่า กำลังอยู่ในโลกหรือสังคม ที่ไม่มีทางสมบูรณ์แบบ จึงไม่มีใครกล้าคาดหวังอยู่แล้วว่า ทุกกลไกทุกระบบ จะมีความสมบูรณ์แบบไร้ปัญหา แต่ในฐานะที่แต่ละคนเป็นสมาชิกสังคม และต่างก็ใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาความสุข แสวงหาเป้าหมายของชีวิต โดยอาศัยสังคมประเทศชาติ อาศัยเพื่อนมนุษย์ อาศัยสิ่งแวดล้อม หรืออาศัยใบโลกนี้ ดังนั้น การแสวงวิธี และลงมือปฏิบัติ เพื่อบรรเทาเบาบางปัญหา หรือยับยั้งความรุนแรง ไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป จึงเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าการอยู่นิ่งเฉย เพราะไม่ว่าใคร ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆของชีวิตได้เลย หากสังคมและประเทศชาติ หรือแม้กระทั่งโลกนี้ไปไม่รอด
หรืออีกนัยหนึ่งนั้น ชีวิตสามารถเรียนรู้อะไรได้มาก จากความไม่สมบูรณ์แบบของโลก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพ ความเข้าใจโลกและชีวิต ดังนั้น ชีวิตจึงสามารถเข้าถึงความสุขซึ่งเป็นจุดหมายของแต่ละชีวิต และสร้างคุณค่าต่างๆ ให้กับชีวิต จากโลกหรือสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาได้ การยอมรับและหาทางแก้ไขเยียวยาโลกและสังคมให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและลงมือทำ มากกว่าการยอมรับแล้วอยู่นิ่งเฉยอย่างสิ้นหวัง และการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองอย่างเดียว โดยไม่คำนึงที่ความรับผิดชอบที่ชีวิตควรมีต่อประเทศชาติ ต่อโลกและสังคมแม้แต่น้อย
เมื่อจะก้าวไปสู่การลงมือเพื่อเผชิญหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ คำถามที่เกิดขึ้นต่อมา คือ หากองค์ความรู้ และวิทยาการด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของศักยภาพของสังคม ที่มีอยู่ ไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการปัญหา หรือสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นได้ ในฐานะปัจเจกชนซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งในสังคม ควรเริ่มต้นอย่างไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตน และของสังคมร่วมกัน
ก่อนอื่นใด การจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เริ่มต้น ต้องไม่ใช่การหาคนผิดมารับผิดชอบ เพราะแม้จะหาได้ ก็ไม่มีทางที่ใครคนนั้นจะรับผิดชอบได้ไหว หรือแก้ไขปัญหาได้ เรื่องสำคัญเช่นนี้ ถือเป็นหน้าที่ของผู้ที่ตื่นตัว และมีจิตสำนึกรู้ ในการทำหน้าที่ที่สำคัญ ด้วยการเป็นผู้ริเริ่มกระทำการแก้ไข ตามระดับของบทบาทหน้าที่ และความรู้ความสามารถที่จะทำได้
เมื่อเริ่มต้น ที่การไม่มองหาคนใกล้ตัวหรือไกลตัวมารับผิดแล้ว ประการสำคัญต่อมา คือ ผู้ที่สามารถมองปมประเด็นของปัญหาให้ออก จะสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหา และชะลอสภาพปัญหาทั้งของตน และของสังคมได้ไวและตรงทางที่สุด
ทางออกในมุมมองด้านศาสนา
พึงตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ต้องต้านรับ กับความเดือนร้อน และความสับสนวุ่นวาย อันเนื่องมาจากปัญหา ทั้งของสังคมภายนอก และทางอารมณ์ภายในที่มีมากขึ้นอย่างไม่สามารถ ปฏิเสธหรือเลี่ยงได้ ก็คือ จิตใจ อันเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้ และเป็นสุขเป็นทุกข์ไปกับเรื่องราวทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต
พระพุทธศาสนา มีกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่ง การภาวนา อันเป็นการฝึกฝนพัฒนาทุกระบบของชีวิต โดยมีจิตใจเป็นแกนกลาง ในฐานะเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้เรื่องราว และมีปฏิกิริยาต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบ จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนผ่านการภาวนา จะมีศักยภาพด้านสติปัญญา ทำให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กับบุคคลรอบข้างในสังคม ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่มีพฤติกรรม ที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งช่วยให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีปัญญาสามารถเลือกสรร กลั่นกรอง พิจารณาตัดสิน สิ่งที่เป็นประโยชน์และมีโทษ ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบุคคลที่จะรับมือกับความทุกข์ และแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบัน
การพัฒนาชีวิต โดยอาศัยการอบรมจิตใจผ่านการภาวนา จึงเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาชูโรง และเห็นความสำคัญ ทั้งนี้ หาใช่พระพุทธศาสนา เป็นจิตนิยม หรือเทความสำคัญไปในด้านเดียวไม่ แต่เนื่องจาก จิตใจที่ได้รับการอบรม จะเป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยให้ชีวิตสามารถจัดการกับปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยมีหลักการสำคัญอยู่ที่ว่า ปัญหาและความทุกข์ทั้งหลาย ทั้งในระดับโลก ระดับสังคม ระดับบุคคล ทั้งหมดนั้น เริ่มต้นเกิดจาก การที่บุคคลไม่สามารถดูแล หรือจัดการกับความต้องการในจิตใจของตนได้
การฝึกฝนภาวนาจะช่วยให้ชีวิต รู้จักประมาณความต้องการของตน ว่าถูกผิดเป็นไปได้หรือไม่ได้ รู้จักควบคุมความต้องการที่เกินจำเป็น รู้จักแบ่งปันสิ่งที่เกินจำเป็นเพื่อส่วนรวม และรู้จักว่า อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตจริงๆ
เมื่อรู้ได้เช่นนี้แล้ว บุคคลนั้น ก็จะไม่ปล่อยให้ความต้องการของตน ก่อความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น หากพิจารณาเห็นว่า ความต้องการนั้นถูกต้องจำเป็น และเป็นไปได้ ก็จะพากเพียรแสวงหามา ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อสนองความจำเป็นจริงๆ นั้น และไม่ยอมเสียเวลาหรือทุ่มเท หาสิ่งที่เกินจำเป็น ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่ได้ให้ความสุขกับชีวิตอย่างแท้จริง
หากบุคลากรในสังคม ได้รับการฝึกฝนผ่านวิถีแห่งการภาวนาตามหลักพุทธธรรม จะเป็นการช่วยเสริมศักยภาพการใช้กลไกหรือระบบขับเคลื่อนต่างๆ ที่มีในสังคมอยู่แล้ว ให้สามารถดำเนินไปในทิศทางเชิงสร้างสรรค์พัฒนามากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากความบกพร่องของระบบและกลไก ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
พระพุทธศาสนา เป็นที่มาแห่งคำตอบของการปรับสมดุลของชีวิต ระหว่างความต้องการ หรือความจำเป็นทางร่างกายและความต้องการ หรือความจำเป็นทางด้านจิตใจ หลักการทางพระพุทธศาสนา จึงสามารถเป็นคำตอบแห่งปัจจุบันสมัย ที่ดูเหมือนมนุษย์จะประสบปัญหา เรื่องการไม่สามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิต มากกว่ายุคก่อนเสียอีก
สรุปได้ว่า หากปัจเจกบุคคลแม้จะไม่ใช่ผู้ทีปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชนก็ตาม สามารถนำหลักการภาวนาตามวิถีพุทธไปประยุกต์ปฏิบัติ จนสามารถสร้างดุลยภาพแห่งการดำเนินชีวิต ด้วยการเผชิญกับวิกฤติปัญหาได้อย่างมั่นคงไม่เสียศูนย์ และนำชีวิตของตนผ่านวิกฤตินั้นๆ ไปได้ ท่ามกลางความผันผวนของวิกฤติปัญหานานารูปแบบ ในสภาพสังคมและสภาวะแวดล้อมของโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถสร้างความสงบสุขส่วนตน ท่ามกลางมหาชนที่กำลังถูกความเดือนร้อนเป็นทุกข์ทั้งภายในใจ และภายนอกถาโถมเข้าบีบคั้น
ปัจเจกชนผู้นั้น แม้จะอยู่ในแวดวงสังคมใด จะกลายเป็นผู้สร้างกระแสแห่งแบบอย่าง ที่เป็นความหวังและทางออกให้กับสังคมและวงการที่ตนเกี่ยวข้องอาศัยอยู่ ทั้งจะเป็นผู้มีกำลังอันโดดเด่น และสร้างความเป็นไปได้มากที่สุดในการผลักดัน ให้วิถีแห่งสันติภาพและดุลยภาพส่วนรวมเป็นจริงขึ้นมาได้มากที่สุด
หนทางในการเยียวยาและหาทางออกให้กับวิกฤติต่างๆในสังคม จึงได้แก่การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้มีปัจเจกชนชนิดที่ว่านี้ให้มากที่สุด ซึ่งแม้หน้าที่หลักส่วนนี้ จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้มีบทบาทหน้าที่ทางพระศาสนา ในฐานะที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบโดยตรงต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา อันมีพุทธประสงค์คือการปลดเปลื้องความทุกข์ในใจของมหาชนเป็นเป้าหมาย แต่หากได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มีความเข้าใจ และยอมรับความจริงเหล่านี้ร่วมกัน ความคลี่คลายของปัญหาของสังคมในระดับต่างๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้จริงมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลทั้งในแง่ระดับและขอบเขต แห่งการพัฒนาชีวิตจนบรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ความสุขสงบและการเข้าถึงสิ่งที่สนองความจำเป็นระดับต่างๆ ของประชาชนในสังคม พร้อมทั้ง ส่งผลให้เกิดความเกื้อกูลอย่างยั่งยืนสมดุลกันระหว่างความต้องการของมนุษย์ และการดำรงอยู่ของโลกและสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น
พึงตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ต้องต้านรับ กับความเดือนร้อน และความสับสนวุ่นวาย อันเนื่องมาจากปัญหา ทั้งของสังคมภายนอก และทางอารมณ์ภายในที่มีมากขึ้นอย่างไม่สามารถ ปฏิเสธหรือเลี่ยงได้ ก็คือ จิตใจ อันเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้ และเป็นสุขเป็นทุกข์ไปกับเรื่องราวทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต
พระพุทธศาสนา มีกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่ง การภาวนา อันเป็นการฝึกฝนพัฒนาทุกระบบของชีวิต โดยมีจิตใจเป็นแกนกลาง ในฐานะเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้เรื่องราว และมีปฏิกิริยาต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบ จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนผ่านการภาวนา จะมีศักยภาพด้านสติปัญญา ทำให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กับบุคคลรอบข้างในสังคม ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่มีพฤติกรรม ที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งช่วยให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีปัญญาสามารถเลือกสรร กลั่นกรอง พิจารณาตัดสิน สิ่งที่เป็นประโยชน์และมีโทษ ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบุคคลที่จะรับมือกับความทุกข์ และแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบัน
การพัฒนาชีวิต โดยอาศัยการอบรมจิตใจผ่านการภาวนา จึงเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาชูโรง และเห็นความสำคัญ ทั้งนี้ หาใช่พระพุทธศาสนา เป็นจิตนิยม หรือเทความสำคัญไปในด้านเดียวไม่ แต่เนื่องจาก จิตใจที่ได้รับการอบรม จะเป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยให้ชีวิตสามารถจัดการกับปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยมีหลักการสำคัญอยู่ที่ว่า ปัญหาและความทุกข์ทั้งหลาย ทั้งในระดับโลก ระดับสังคม ระดับบุคคล ทั้งหมดนั้น เริ่มต้นเกิดจาก การที่บุคคลไม่สามารถดูแล หรือจัดการกับความต้องการในจิตใจของตนได้
การฝึกฝนภาวนาจะช่วยให้ชีวิต รู้จักประมาณความต้องการของตน ว่าถูกผิดเป็นไปได้หรือไม่ได้ รู้จักควบคุมความต้องการที่เกินจำเป็น รู้จักแบ่งปันสิ่งที่เกินจำเป็นเพื่อส่วนรวม และรู้จักว่า อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตจริงๆ
เมื่อรู้ได้เช่นนี้แล้ว บุคคลนั้น ก็จะไม่ปล่อยให้ความต้องการของตน ก่อความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น หากพิจารณาเห็นว่า ความต้องการนั้นถูกต้องจำเป็น และเป็นไปได้ ก็จะพากเพียรแสวงหามา ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อสนองความจำเป็นจริงๆ นั้น และไม่ยอมเสียเวลาหรือทุ่มเท หาสิ่งที่เกินจำเป็น ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่ได้ให้ความสุขกับชีวิตอย่างแท้จริง
หากบุคลากรในสังคม ได้รับการฝึกฝนผ่านวิถีแห่งการภาวนาตามหลักพุทธธรรม จะเป็นการช่วยเสริมศักยภาพการใช้กลไกหรือระบบขับเคลื่อนต่างๆ ที่มีในสังคมอยู่แล้ว ให้สามารถดำเนินไปในทิศทางเชิงสร้างสรรค์พัฒนามากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากความบกพร่องของระบบและกลไก ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
พระพุทธศาสนา เป็นที่มาแห่งคำตอบของการปรับสมดุลของชีวิต ระหว่างความต้องการ หรือความจำเป็นทางร่างกายและความต้องการ หรือความจำเป็นทางด้านจิตใจ หลักการทางพระพุทธศาสนา จึงสามารถเป็นคำตอบแห่งปัจจุบันสมัย ที่ดูเหมือนมนุษย์จะประสบปัญหา เรื่องการไม่สามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิต มากกว่ายุคก่อนเสียอีก
สรุปได้ว่า หากปัจเจกบุคคลแม้จะไม่ใช่ผู้ทีปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชนก็ตาม สามารถนำหลักการภาวนาตามวิถีพุทธไปประยุกต์ปฏิบัติ จนสามารถสร้างดุลยภาพแห่งการดำเนินชีวิต ด้วยการเผชิญกับวิกฤติปัญหาได้อย่างมั่นคงไม่เสียศูนย์ และนำชีวิตของตนผ่านวิกฤตินั้นๆ ไปได้ ท่ามกลางความผันผวนของวิกฤติปัญหานานารูปแบบ ในสภาพสังคมและสภาวะแวดล้อมของโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งสามารถสร้างความสงบสุขส่วนตน ท่ามกลางมหาชนที่กำลังถูกความเดือนร้อนเป็นทุกข์ทั้งภายในใจ และภายนอกถาโถมเข้าบีบคั้น
ปัจเจกชนผู้นั้น แม้จะอยู่ในแวดวงสังคมใด จะกลายเป็นผู้สร้างกระแสแห่งแบบอย่าง ที่เป็นความหวังและทางออกให้กับสังคมและวงการที่ตนเกี่ยวข้องอาศัยอยู่ ทั้งจะเป็นผู้มีกำลังอันโดดเด่น และสร้างความเป็นไปได้มากที่สุดในการผลักดัน ให้วิถีแห่งสันติภาพและดุลยภาพส่วนรวมเป็นจริงขึ้นมาได้มากที่สุด
หนทางในการเยียวยาและหาทางออกให้กับวิกฤติต่างๆในสังคม จึงได้แก่การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้มีปัจเจกชนชนิดที่ว่านี้ให้มากที่สุด ซึ่งแม้หน้าที่หลักส่วนนี้ จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้มีบทบาทหน้าที่ทางพระศาสนา ในฐานะที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบโดยตรงต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา อันมีพุทธประสงค์คือการปลดเปลื้องความทุกข์ในใจของมหาชนเป็นเป้าหมาย แต่หากได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มีความเข้าใจ และยอมรับความจริงเหล่านี้ร่วมกัน ความคลี่คลายของปัญหาของสังคมในระดับต่างๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้จริงมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลทั้งในแง่ระดับและขอบเขต แห่งการพัฒนาชีวิตจนบรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ความสุขสงบและการเข้าถึงสิ่งที่สนองความจำเป็นระดับต่างๆ ของประชาชนในสังคม พร้อมทั้ง ส่งผลให้เกิดความเกื้อกูลอย่างยั่งยืนสมดุลกันระหว่างความต้องการของมนุษย์ และการดำรงอยู่ของโลกและสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น